แชร์

กู้เงินซื้อบ้านโปะเงินสดก่อน3ปี ไม่ต้องเสียค่าปรับจริงหรือ?

อัพเดทล่าสุด: 15 ม.ค. 2025
240 ผู้เข้าชม

ปรึกษาสินเชื่อได้ทุกวัน จันทร์-อาทิตย์ 8:30-20:00 น. ตามเวลาไทยกู้เงินซื้อบ้านโปะเงินสดก่อน 3 ปี ไม่ต้องเสียค่าปรับจริงหรือ?
เป็นอีกกรณีที่คนซื้อบ้านหลายคนยังสงสัย ค้างคาใจกันอยู่ กรณีกู้เงินซื้อบ้านเเล้วเอาเงินไปโปะหมดก่อน 3 ปี แบบนี้จะถูกเรียกเก็บค่าปรับหรือไม่?

ถ้าใช้เงินสดของตัวเองมาโปะทั้งหมดก่อนกำหนดจะไม่มีค่าปรับแม้โปะปิดบัญชีหมดก่อน 3 ปี เเต่ก็ควรเช็คเงื่อนไขของสัญญาจากเเต่ละธนาคารให้ดีก่อน ส่วนถ้าโปะหรือไถ่ถอนโดยการรีไฟแนนซ์ไปแบงก์อื่น แบบนี้ต้องเสียค่าปรับ ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะคิดที่ 3% โดยบางธนาคารคิดจากยอดเงินคงเหลือในขณะนั้น เเต่บางธนาคารคิดจากยอดเงินกู้ตามสัญญาก็มี

ทั้งนี้ทั้งนั้นก็จะยึดหลักเกณฑ์ที่ประกาศโดยแบงก์ชาติในข้อที่เกี่ยวกับ เบี้ยปรับ ที่กำหนดไว้ว่า

กรณีลูกค้าเลือกทำสัญญาเป็นเงินกู้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวและไถ่ถอนก่อนกำหนด ธนาคารจะคิดเบี้ยปรับได้เฉพาะกรณีรีไฟแนนซ์ไปธนาคารอื่นเท่านั้น

(ประกาศธนาคารเเห่งประเทศไทยที่ สนส.80/2551 เรื่องหลักเกณฑ์ปฎิบัติ เรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการต่างๆ เเละเบี้ยปรับสำหรับธนาคารพาณิชย์)

ส่วนกรณีลูกค้าทำสัญญาด้วยเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่ ในประกาศกำหนดเพียงว่า

กรณีลูกค้าทำสัญญาเงินกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่เเละไถ่ถอนก่อนครบสัญญา ซึ่งเป็นสัญญาที่คิดอัตราดอกเบี้ยคงที่เปลี่ยนทุกรอบ 3 ปี 5 ปี เพื่อไปใช้บริการกับธนาคารอื่น (รีไฟแนนซ์) หรือกรณีขอเปลี่ยนไปใช้อัตราดอกเบี้ยลอยตัวก่อนครบรอบสัญญา ธนาคารสามารถคิดเบี้ยปรับได้

อย่างไรก็ตามธนาคารบางเเห่งอาจกำหนดเงื่อนไขอื่นๆ โดยเฉพาะกรณีลูกค้าเลือกอัตราดอกเบี้ยคงที่หรืออัตราดอกเบี้ยพิเศษ เช่น ห้ามไถ่ถอนก่อนครบรอบสัญญาทุกกรณี หรือบางธนาคารห้ามชำระเกิน (กี่เท่า) ของเงินงวดก็มี

เเละที่น่าสังเกตอย่างหนึ่งก็คือถ้ายิ่งเป็นสัญญาเงินกู้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ หรือประเภทโปรโมชั่นดอกเบี้ยต่ำๆ ข้อกำหนดเรื่องค่าปรับจะเเพงหรือมีเงื่อนไขที่เข้มงวดขึ้น เช่น เเทนที่รอบไถ่ถอนจะกำหนดเเค่ 3 ปี ก็จะเป็น 4 ปี เป็นต้น

ทั้งนี้เกี่ยวกับหลักเกณฑ์การปฏิบัติทั้งเรื่องดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าบริการ เเละเบี้ยปรับต่างๆ ของธนาคารค่อนข้างชัดเจน เพราะต้องยึดตามประกาศของแบงก์ชาติเป็นหลักและต้องระบุไว้ในสัญญา ซึ่งเราหรือคนกู้ต้องอ่านสัญญาให้ละเอียด จะได้ไม่มโนคิดไปเองจนอาจกลายเป็นความยุ่งยากภายหลังนะจ๊ะ

ก่อนจากมาดูอัตราค่าธรรมเนียมสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (ที่ต้องเเจ้งต่อ ธปท.) กันดีกว่าว่ามีอะไรบ้าง?
อัตราดอกเบี้ยสูงสุดกรณีปกติ
อัตราดอกเบี้ยสูงสุดกรณีผิดนัดชำระหนี้
ค่าสำรวจเเละประเมินหลักประกันโดยผู้ประเมินภายใน
คำสำรวจเเละประเมินหลักประกันโดยผุ้ประเมินภายนอก
ค่าใช้จ่ายกรณีชำระเงินกุ้ก่อนกำหนด เพื่อไปใช้บริการสถานบันการเงินอื่น
ค่าติตามทวงหนี้

 
ปรึกษาสินเชื่อได้ทุกวัน จันทร์-อาทิตย์ 8:30-20:00 น. ตามเวลาไทย



บทความที่เกี่ยวข้อง
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้
เปรียบเทียบสินค้า
0/4
ลบทั้งหมด
เปรียบเทียบ